กายภาพบำบัดข้อศอก

ปวดข้อศอกเกิดจากอะไร แบบไหนควรทำกายภาพบำบัดข้อศอก

0 Comments

                ข้อศอกเป็นหนึ่งในอวัยวะของร่างกายที่มักถูกมองข้ามอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากไม่ค่อยมีความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ รวมถึงคนส่วนใหญ่ก็ไม่ทราบว่า กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นของข้อศอกมีโอกาสที่จะเกิดความเจ็บปวดได้เช่นกัน ผู้ที่มีอาการปวดข้อศอกเล็กน้อยจึงละเลยจนอาการหนักขึ้น ต้องไปทำกายภาพบำบัดข้อศอกเพื่อให้กลับมาทำงานได้เป็นปกติตามเดิม วันนี้จึงมีข้อสังเกตเกี่ยวกับอาการปวดข้อศอกมาฝาก เพื่อให้รู้ทันสัญญาณเตือนก่อนที่อาการจะหนักขึ้น จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

สาเหตุของอาการปวดข้อศอก แบบไหนที่ยังไม่ต้องทำกายภาพบำบัดข้อศอก

                สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อศอกคือ การใช้แขนในท่าทางเดิมซ้ำ ๆ มากเกินไป หรือใช้งานหนักจนเกินไป ผู้ที่มักจะมีอาการปวดข้อศอกจึงเป็นนักกีฬาที่ต้องใช้งานแขนอย่างหนัก เช่น นักเทนนิส นักกอล์ฟ นักแบดมินตัน นักกีฬาขว้างจักร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนักดนตรีหรือจิตรกรที่ต้องอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือแม้แต่การทำงานบ้าน งานช่าง เชฟ งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ทั้งนี้หากยังสามารถรักษาได้ด้วยยาและท่ายืดเหยียดต่าง ๆ ได้ อาจยังไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดข้อศอก

                ทั้งนี้ กล้ามเนื้อและอวัยวะต่าง ๆ ในส่วนข้อศอกมีหลายจุด ไม่ว่าจะเป็นเส้นเอ็น จุดเกาะเส้นเอ็น พังผืดในข้อ ถุงน้ำ เส้นประสาท และยังแบ่งออกเป็นอาการปวดข้อศอกด้านในและปวดข้อศอกด้านนอกอีกด้วย เนื่องจากอาการปวดในจุดที่ต่างกันก็เกิดจากลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น การสะบัดมือแรง ๆ การขยับแขนขึ้นลง การหมุนข้อศอก การกำสิ่งของไว้เป็นเวลานาน เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย จะทำให้ทราบสาเหตุอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น

ปวดระดับไหนที่ต้องไปทำกายภาพบำบัดข้อศอกได้แล้ว

                การทำกายภาพบำบัดข้อศอกเป็นวิธีรักษาอาการปวดที่ใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ได้ เช่น การทานยา การฉีดยา การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุงข้อศอก เป็นต้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โดยก่อนตัดสินใจพบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดข้อศอก หากมีอาการดังต่อไปนี้นานกว่า 3-6 เดือนขึ้นไป และทำการรักษาด้วยการพักแขน ทายา หรือการบริหารข้อศอกแล้วไม่หาย ส่งผลให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก แนะนำให้ไปพบแพทย์ได้เลย

  • อาการปวดขยายบริเวณกว้างขึ้นเรื่อย ๆ จากข้อศอกร้าวลงไปยังแขนส่วนล่าง
  • มีอาการบวมแดง สัมผัสแล้วรู้สึกร้อน มีไข้ร่วมด้วย
  • ข้อศอกติด ไม่สามารถขยับหรือยืดเหยียดได้
  • หากเคยประสบอุบัติเหตุกระดูกหักมาก่อน หลังรักษาแล้วยังมีรอยช้ำ มุมข้อศอกผิดรูป ปวดบวม หรือเส้นประสาทชา

เมื่อแพทย์ซักประวัติและตรวจวินิจฉัยอาการแล้ว ก็จะวางแผนการรักษาด้วยกายภาพบำบัดข้อศอกที่สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้กระแสไฟฟ้า การใช้แสงเลเซอร์ การนวด การออกกำลังกายด้วยท่าที่ถูกต้อง ทั้งนี้อาการปวดข้อศอกที่เรื้อรังไม่ได้เกิดจากการใช้งานอย่างไม่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากโรคอื่น ๆ เช่น ข้อต่อติดเชื้อเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ โรครูมาตอยด์ โรคปลายประสาทอักเสบ เป็นต้น

หลังทำกายภาพบำบัดข้อศอกแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารร่างกายอย่างถูกต้อง และระมัดระวังในการทำงานไม่ให้อยู่ในท่าซ้ำเดิมหรือใช้งานแขนหนักเกินไป นอกจากการระมัดระวังตัวเองแล้ว อาจช่วยระมัดระวังผู้อื่นด้วย เช่น ในกรณีเด็กวัยหัดเดิน ผู้ปกครองอาจเผลอดึงแขนเด็กจนปวดข้อศอกได้ ในขณะที่วัยชราอาจมีภาวะข้อเสื่อม จึงเกิดอาการปวดได้ง่ายอยู่แล้ว การเรียนรู้เรื่องท่าทางที่ถูกต้องก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ตนเองและคนรอบตัวเสี่ยงต่ออาการปวดข้อศอกนั่นเอง

Related Posts

ตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน

14 รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน ที่พนักงานใหม่ต้องตรวจ

0 Comments

การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน เป็นสิ่งที่ทุกบริษัทมักทำก่อนรับพนักงานใหม่เข้าสู่บริษัท ซึ่งทางฝ่ายบุคคลมักจะถามถึง รายการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน มีรายการตรวจอะไรบ้าง ดังนั้นการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน และใบรับรองแพทย์ของผู้สมัครงาน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อปัญหาด้านสุขภาพพนักงานภายในองค์กรได้ ผู้ที่เข้ารับการตรวจสุขภาพก่อนเริ่มงาน มักจะรู้ว่าตัวเองมีความเสี่ยงหรือมีโรคอะไรบ้าง…

ไทรอยด์เป็นพิษ

ไทรอยด์เป็นพิษคืออะไรและมีอาการอย่างไร

0 Comments

ไทรอยด์เป็นพิษ คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วแบบผิดปกติ หัวใจเต้นเร็ว เหนื่อยง่าย หรือมีอาการหอบร่วมด้วย และนอกจากนี้การที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษก็จะมีอารมณ์ฉุนเฉียวที่อาจจะทำให้หลายๆคนที่เป็นไทรอยด์เป็นพิษนั้นไม่รู้ตัวอีกด้วย โรคไทรอยด์นั้นก็เป็นโรคที่เราเองก็ควรที่จะต้องให้ความสนใจกันอย่างที่สุดเลยเพราะยิ่งเราได้ให้ความสนใจกันได้มากเท่าไหร่ก็จะช่วยส่งผลที่จะทำให้เรานั้นมีร่างกายที่ดียิ่งขึ้นและไม่ต้องมาหงุดหงิดกับเรื่องของโรคไทรอยด์ด้วยนั้นเองเพราะโรคไทรอยด์เป็นพิษนั้นก็เป็นเรื่องที่เราเองก็ควรที่จะต้องระวังให้มากที่สุดเพราะถ้าเกิดขึ้นมาแล้วจะยากต่อการรักษาด้วย ไทรอยด์นั้นก็จะมีไฮเปอร์ไทรอยด์อันนี้คือโรคไทรอยด์ที่มีระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์มากเกินไป…

ประสาทหูเสื่อม คืออะไร?

0 Comments

ประสาทหูเสื่อม (Hearing loss) เป็นการสูญเสียการได้ยินที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เกิดขึ้นเมื่อเนื้อประสาทหูด้านใน (vestibular nerve) ที่ควบคุมสมดุลของระบบประสาทสมดุล (balance system)…